CES 2024 แสดงให้แล้วเห็นว่า อนาคตของรถยนต์จะถูกกำหนดโดย AI

เทคโนโลยียานยนต์กำลังก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยจะเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นในอีกสิบปีข้างหน้า เมื่อการเป็นไฟฟ้าจะเปลี่ยนสิ่งที่ใช้ขับเคลื่อนรถยนต์ และการอัตโนมัติจะเปลี่ยนวิธีการขับขี่ใหม่ นอกจากนี้ โอกาสใหญ่ที่สุดอีกประการหนึ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ การเชื่อมต่อและข้อกำหนดจากซอฟต์แวร์สำหรับยานยนต์จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเงิน สิ่งนี้ได้ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วในงาน CES 2024 ล่าสุดเมื่อต้นปีนี้ ด้วยความรู้สึกที่ว่า “อัตโนมัติ” “เชื่อมต่อ” “AI” และ “ยานยนต์ที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์” ล้วนเป็นคำศัพท์ที่ต้องมีให้เห็นก่อนเมื่อเดินผ่านประตูของผู้จัดแสดงเทคโนโลยีต่างๆ

คุณสมบัติเด่นต่างๆ ของรถยนต์ที่มีการเชื่อมต่อและถูกกำหนดโดยซอฟต์แวร์

ขณะที่ตามรายงานของ IDTechEx เรื่อง “Future Automotive Technologies 2024-2034: Applications, Megatrends, Forecasts” และ “Connected and Software-Defined Vehicles 2024-2034: Markets, Forecasts, Technologies” ได้ข้อสรุปที่ทำให้เห็นแนวโน้มในอนาคตว่า ยานยนต์ที่ถูกเชื่อมต่อและถูกกำหนดโดยซอฟต์แวร์ จะมีศักยภาพการเติบโตสูงสุดในขอบเขตของรถยนต์ เทคโนโลยีเหล่านี้จะมีอัตราการเติบโตต่อปีที่ 21.1% ระหว่างปี พ.ศ. 2567 ถึง 2577 โดยมีมูลค่าถึง 700 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยประมาณ 400-500 เหรียญสหรัฐต่อคันบนท้องถนน คำถามที่ตามมา คือ รายได้ทั้งหมดนี้มาจากไหน

CES 2024 งานแสดงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอิเล็กทรอกนิกส์สำหรับผู้บริโภค ทำให้มองเห็นได้ว่า บางส่วนของการสร้างรายได้ที่เกี่ยวเนื่องกับยานยนต์นั้นมีที่มาอย่างไร ประการแรก จะมีผู้ช่วย AI อยู่ในห้องคนขับ นี่คือ เป้าใหญ่ที่อยู่ในความสนใจของผู้เล่นอย่าง Mercedes, Amazon Web Services (AWS) และ Qualcomm

การทำงานของผู้ช่วย AI ในช่วงแรกๆ จะเป็นการโต้ตอบกับระบบของรถได้อย่างเป็นธรรมชาติมากขึ้น การออกคำสั่งด้วยเสียงในรถยนต์ไม่ใช่เรื่องใหม่ และมีความก้าวหน้ามาตลอดหลายปีที่ผ่านมา จากเมื่อก่อนมีไว้เป็นสิ่งล่อใจเพื่อการขาย ซึ่งอาจทำให้บางคนตื่นตาตื่นใจกับความสามารถนี้ แต่หากจะใช้อย่างจริงจังก็ยังพึ่งหวังไม่ได้ แม้แต่ระบบที่ดีที่สุดในปัจจุบันก็ยังตอบสนองได้ช้าอยู่บ้าง และยังต้องให้ผู้ใช้จดจำการเรียกชื่อเฉพาะและวิธีการใช้ถ้อยคำต่างๆ

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โลกได้เห็นแล้วว่า AI นั้นเติบโตมากเพียงใด โดยเฉพาะจากแชท GPT ที่ทำให้รับรู้ได้ว่าเครื่องจักรสามารถเลียนแบบการสนทนาตามปกติของมนุษย์ได้ และมีส่วนสนับสนุนต่อการสร้างประสบการณ์ด้านยานยนต์

Qualcomm และ AWS ต่างก็เป็นผู้สาธิตให้เห็นถึงอินเทอร์เฟซที่ได้รับการฝึกมาแล้วเกี่ยวกับคู่มือเจ้าของรถ ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นการใช้งานในอุดมคติเป็นอันดับแรก โดยลูกค้าสามารถสอบถามเกี่ยวกับคุณลักษณะต่างๆ ที่มีอยู่บนรถ และได้รับคำอธิบายที่สามารถเข้าใจได้จากผู้ช่วย AI ตัวอย่างเช่น คนขับอาจถามว่า “ทำไมเครื่องยนต์ถึงดับเมื่อรถหยุด” และผู้ช่วย AI สามารถตอบอธิบายได้ว่า สิ่งนี้ออกแบบมาเพื่อประหยัดเชื้อเพลิง และแจ้งให้ผู้ขับขี่ทราบวิธีปิดการทำงานนี้หากต้องการ

ส่วนการใช้งานอื่นๆ เป็นเพียงการโต้ตอบกันเกี่ยวกับการตั้งค่าต่างๆ ของรถ ซึ่งรถยนต์จำนวนมากมีระบบควบคุมด้วยเสียงที่สามารถเปลี่ยนการตั้งค่าการควบคุมสภาพอากาศได้ แต่ผู้ช่วย AI เสนอวิธีที่เป็นธรรมชาติมากกว่า ผู้ขับขี่ไม่จำเป็นต้องฝึกออกคำสั่งตรงๆ หรือใช้คำเฉพาะเจาะจง แต่สามารถพูดได้ว่า “ฉันหนาว” “เพิ่มความร้อน” “ตั้งอุณหภูมิเป็น 20 องศา” หรือ “อุณหภูมิเป็น 70 องศา” แล้วรถก็จะปรับเปลี่ยนไปตามนั้น

ผู้ช่วย AI มีแนวโน้มที่จะมาในรูปแบบบริการสมัครสมาชิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการที่ต้องเชื่อมต่อ ซึ่งผู้ช่วย AI สำหรับรถยนต์ของ AWS ก็คือ บริการระบบคลาวด์ที่เชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ AWS เพื่อดำเนินการตามฟังก์ชัน AI ขณะที่ชิปล่าสุดของ Qualcomm มีตัวเร่งความเร็ว AI อยู่ในตัวชิป ทำให้ยานยนต์มีข้อเสนอคุณสมบัติ AI บางอย่างที่ใช้งานได้แม้อยู่ในขณะที่ออฟไลน์ อย่างไรก็ตาม การใช้งานดังกล่าวก็ยังจำเป็นต้องมีการเชื่อมต่อเพื่อการอัปเดตอยู่เป็นประจำ และการร้องขอเพื่อเข้าถึงข้อมูลที่ไม่ได้จัดเก็บไว้ในรถ เช่น ข้อมูลต่างๆ ตามปฏิทิน หรือบทความใน Wikipedia

แต่ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม ผู้ช่วย AI ก็น่าจะเป็นบริการระดับพรีเมียม ซึ่งอาจฟรีในปีแรกเพื่อดึงดูดลูกค้าและแสดงให้เห็นว่าเป็นของมีคุณค่า

ตัวอย่าง AI ที่กล่าวถึงนั้นเป็นการมุ่งไปที่การโต้ตอบกับยานยนต์ แต่เมื่อรวมเข้ากับการเชื่อมต่อ และร้านค้าแอปพลิเคชันของบุคคลที่สามแล้ว ความเป็นไปได้ของการใช้งานผู้ช่วย AI ก็แทบไร้ขอบเขต ตัวอย่างการใช้งานพื้นฐานก็คือ การกำหนดเวลานำรถเข้ารับบริการ เมื่อยานยนต์ใกล้ถึงช่วงเวลาเข้ารับบริการ ผู้ช่วย AI จะติดต่อไปที่ศูนย์บริการของตัวแทนจำหน่าย จากนั้นจะเสนอช่วงเวลาที่พร้อมให้คนขับนำรถเข้ารับบริการ และแจ้งราคาแพ็กเกจต่างๆ ให้ทราบ รวมทั้งกำหนดเวลาและวิธีการชำระเงิน

การชำระเงินในรถยนต์ เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงตลาดรถยนต์ ระบบเหล่านี้มีการรักษาความมั่นคงด้วยระบบไบโอเมตริกซ์ โดยใช้กล้องอินฟราเรดและกล้องปกติทั่วไปในห้องคนขับ เพื่ออนุมัติการชำระเงิน ดังตัวอย่างในงาน CES 2024 ผู้จัดแสดงสินค้าได้กดซื้อระบบสาระบันเทิงจำลอง โดยกล้องแสดงใบหน้าเพื่อตรวจสอบ จากนั้นธุรกรรมของธนาคารจะปรากฏบนหน้าจอแยกต่างหาก ซึ่งลำดับเหตุการณ์เหล่านี้เป็นการดำเนินการโดยรถยนต์

นอกจากนี้ ยังมีการสาธิตให้เห็นว่า ผู้ใช้สามารถชำระเงินเพื่ออัปเกรดการเข้าถึงฟังก์ชันต่างๆ เพิ่มเติม ซึ่งเป็นโมเดลให้บริการที่เรียกว่า feature-as-a-service (คุณสมบัติเด่นเป็นงานบริการ) โดยปัจจุบัน บริการแบบนี้ได้เกิดขึ้นแล้วในบริษัทต่างๆ เช่น Tesla, BMW และบริษัทอื่นๆ ที่ติดตั้งฮาร์ดแวร์ที่มีฟังก์ชันการทำงานอย่างเต็มรูปแบบไว้ในรถยนต์ เพียงแต่ฟังก์ชันการทำงานเหล่านั้นถูกล็อกเอาไว้อยู่ด้านหลังด่านชำระเงิน หรือที่เรียกว่า paywall

ปัจจุบันนี้ ผู้ขับขี่ต้องชำระเงินเพื่อเข้าถึงคุณสมบัติเหล่านั้นผ่านแอพสมาร์ทโฟนหรือผ่านทางออนไลน์ ซึ่งผู้ช่วย AI การเชื่อมต่อ และการชำระเงินในรถยนต์ จะทำให้เกมเปลี่ยนไป เช่น คนขับอาจพูดว่า “ฉันหนาว” จากนั้นผู้ช่วย AI จะแนะนำให้ไปสมัครแพ็กเกจที่มีเบาะนั่งให้ความอบอุ่นได้ หลังจากนั้น ส่วนการเชื่อมต่อและการชำระเงิน AI ก็จะดำเนินการจัดซื้อให้เสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์

นี่คือเรื่องของ AI, การเชื่อมต่อ, ยานยนต์ที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์, features-as-a-service และการชำระเงินในรถยนต์ ซึ่งทั้งหมดนี้จะถูกนำมารวมกันเพื่อสร้างรายได้ใหม่ที่มีมูลค่าหลายร้อยดอลลาร์ต่อรถยนต์หนึ่งคันภายในปี พ.ศ. 2577

ที่มา: IDTechEx

About pawarit

Check Also

6 หัวข้อห้ามพลาดสำหรับผู้บริหาร! ในงาน AWS Summit Bangkok 2025 [29 เม.ย. 2025 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์]

งาน AWS Summit Bangkok 2025 กำลังจะมาถึงแล้วในวันที่ 29 เมษายน 2025 นี้ และนี่คือ 6 หัวข้อห้ามพลาดสำหรับเหล่าผู้บริหารของธุรกิจองค์กรและหน่วยงานภาครัฐ ที่คุณจะได้รับฟังภายในงานครั้งนี้

AI ไม่ใช่มารร้าย แต่คือโอกาสทอง!

ท่ามกลางคลื่นลมแรงของโลกอุตสาหกรรมที่ถาโถมเข้าใส่ผู้ผลิต ทั้งต้นทุนการดำเนินงานที่พุ่งสูงขึ้น โซ่อุปทานโลกที่ซับซ้อนราวเขาวงกต และช่องว่างทักษะแรงงานที่นับวันยิ่งกว้างขึ้น หลายโรงงานอาจกำลังรู้สึกเหมือนเรือที่กำลังเผชิญพายุร้าย แต่ QAD บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์สำหรับภาคอุตสาหกรรม กลับมองเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ และกุญแจสำคัญนั้นก็คือ “ปัญญาประดิษฐ์” หรือ AI นั่นเอง