Fugo Precision 3D เปิดตัวเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติแบบแรงเหวี่ยง ที่จะมาพลิกโฉมการผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุ

Fugo Precision 3D เปิดตัว Fugo Model A ซึ่งเป็นเครื่องพิมพ์ 3 มิติแบบแรงเหวี่ยง (centrifugal 3D printer) เครื่องแรกของโลก นับเป็นก้าวสำคัญในวิวัฒนาการด้านการผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุ เทคโนโลยีที่ก้าวล้ำนี้ได้เสนอวิธีการพิมพ์ที่ “ปราศจากเลเยอร์” ให้ความละเอียดต่ำกว่า 30 ไมครอน ซึ่งเป็นระดับที่เล็กละเอียดอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และรองรับงานในกระบวนการได้เร็วกว่าเครื่องพิมพ์ Stereolithography (SLA) แบบดั้งเดิมถึง 10 เท่า

Fugo Model A ได้นำกระบวนการหลังการผลิตต่างๆ หลายขั้นตอนเข้ามารวมไว้ในเครื่องจักรเครื่องเดียว จึงช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ผลิตได้อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจากการรวมทุกขั้นตอนไว้ในระบบเดียว ผู้ใช้จึงสามารถพิมพ์ ล้าง ทำให้แห้ง และบ่มชิ้นส่วนได้ในขั้นตอนเดียว ทำให้กระบวนการผลิตทั้งหมดกระชับคล่องตัวขึ้น

Bryan Allred ผู้ก่อตั้ง Fugo 3D กล่าวว่า — “เทคโนโลยีการพิมพ์แบบแรงเหวี่ยงที่ได้รับสิทธิบัตรของเราไม่ได้เป็นเพียงการปรับปรุงระบบที่มีอยู่เท่านั้น แต่ยังเป็นการคิดใหม่ทำใหม่เกี่ยวกับการพิมพ์ 3 มิติ ที่สามารถทำให้สำเร็จได้” “ด้วย Fugo Model A เราคาดหวังว่าจะช่วยผู้ผลิตสร้างชิ้นส่วนให้มีคุณภาพสูงขึ้นด้วยต้นทุนที่ต่ำลง”

Sasha Shkolnik, CTO ของ Fugo 3D กล่าวว่า — “นับตั้งแต่การกำเนิดขึ้นของเทคโนโลยี SLA และ DLP (Digital Light Processing) ปัญหาใหญ่ที่สุดประการหนึ่งของเครื่องพิมพ์เหล่านี้ก็คือ ต้องการใช้วิธีทางกลในการแผ่กระจายให้เป็นชั้นบางๆ แบบไร้ข้อจำกัด ขณะที่ Fugo Model A ได้แก้ปัญหานี้ไปแล้ว โดยที่เทคโนโลยีของเราไม่ได้ใช้วิธีทางกลใดๆ ในการสร้างเลเยอร์ระหว่างการพิมพ์”

Fugo Model A เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้งานได้หลากหลาย สามารถทำงานร่วมกับโฟโตโพลิเมอร์ได้หลายชนิด โดย Fugo ได้ตั้งเป้าไปที่ผู้ผลิตที่ใช้การพิมพ์แบบ 3 มิติที่มีปริมาณงานสูงและเป็นส่วนสำคัญของสายการผลิตอยู่ในขณะนี้ โดยกลุ่มนี้จะกลายมาเป็นผู้เริ่มนำ Fugo Model A ไปใช้งานในช่วงแรกๆ

ที่มา: Fugo Precision 3D

About pawarit

Check Also

ASICS เร่งเครื่องผลิตในอินเดีย เพิ่มสัดส่วนสินค้า “Made in India” รับมือกฎเข้ม-ตลาดโต

ASICS บริษัทชุดกีฬาชั้นนำจากญี่ปุ่น กำลังวางแผนยุทธศาสตร์ครั้งใหญ่ในประเทศอินเดีย โดยมีเป้าหมาย เพิ่มสัดส่วนการผลิตสินค้าในอินเดียจาก 30% เป็น 40% ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า การเคลื่อนไหวครั้งนี้เป็นผลมาจากการที่อินเดียมีกฎระเบียบการนำเข้าที่เข้มงวดขึ้น รวมถึงความจำเป็นในการรักษาห่วงโซ่อุปทานให้ต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองตลาดกีฬาที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด

เดินหน้าต่อ Braskem และ Ardent ร่วมกันนำเทคโนโลยีแยกโอเลฟินอันล้ำสมัยไปสู่การผลิตเพื่อการพาณิชย์

Braskem ผู้ผลิตโพลิโอเลฟินรายใหญ่ที่สุดในอเมริกาและเป็นผู้นำตลาดระดับโลกและเป็นผู้ผลิตไบโอโพลิเมอร์ในระดับอุตสาหกรรมเป็นรายแรก และ Ardent Process Technologies ผู้พัฒนาระบบเมมเบรนขั้นสูง ประกาศความสำเร็จตามแผนพัฒนาร่วมกันด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมการแยกโอเลฟิน-พาราฟิน ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าที่มีนัยสำคัญต่อประสิทธิภาพการผลิตโพลิโอเลฟิน