ดีพร้อม ชูศักยภาพวัสดุท้องถิ่น แบบอันล็อก ต่อยอดสู่สินค้าสร้างสรรค์มูลค่าสูง ดันเศรษฐกิจโต 100 ล้านบาท

กรุงเทพฯ 19 มิถุนายน 2567 – กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เดินหน้าดึงศักยภาพผู้ประกอบการวัสดุสร้างสรรค์ใหม่ผ่านภูมิปัญญาและนวัตกรรมสรรสร้างสู่การต่อยอดพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ท้าทายโดยใช้วัสดุท้องถิ่นใหม่ ๆ (Unlock Materials) อาทิ บีนแบคไม้หุ้มด้วยนวัตกรรมการเคลือบผิวผักตบชวาสาน แผ่นวัสดุตกแต่งผนังด้วยนวัตกรรมสร้างสมดุลธรรมชาติร่วมกับเส้นใยเห็ด และแผ่นจากวัสดุ cement เสริมแร่ธาตุสำหรับปลูกพืชแบบไร้ดิน ผ่านกิจกรรม “เปิดโลกวัสดุใหม่ด้วยนวัตกรรมและการออกแบบเชิงสร้างสรรค์” (The Unlock Materials Design 2024) ประจำปี 2567 ภายใต้แนวคิด “การสร้างสรรค์ผลงานในบริบทใหม่ หรือ From Local to Luxury” พร้อมจัดนิทรรศการ “เปิดโลกวัสดุใหม่ เปลี่ยนรูปวัสดุเดิม” นำผลงานโชว์ในย่านกลางเมือง ณ ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ และเปิดพื้นที่ทดสอบตลาดไอเดียสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกว่า 30 บูธ โดยมีผู้เข้าร่วมงานไม่น้อยกว่า 5 หมื่นราย และคาดว่าจะเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 100 ล้านบาท

นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ตามนโยบายรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือ Soft power ซึ่งเป็นหนึ่งในสาขาอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศบนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเชื่อมโยงกับทุนทางวัฒนธรรมและเทคโนโลยี นวัตกรรมสมัยใหม่ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมภายใต้การนำของ นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของนโยบายดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมอุตสาหกรรมและวิสาหกิจไทยในการทำงานเชิงพัฒนาสร้างสรรค์ในด้านวัสดุ และกระบวนการผลิต จากท้องถิ่นสู่การพัฒนาให้เป็นวัสดุใหม่ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่สวยงาม มีคุณภาพและได้มาตรฐานระดับสากลในที่สุด จึงได้มอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เดินหน้าสร้างแรงบันดาลใจให้บุคลากรนักออกแบบหน้าใหม่และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ให้สามารถออกแบบ พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ด้วยการใช้นวัตกรรมหรือวัสดุที่แปลกใหม่ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้งต่อยอดแนวคิดให้เกิดมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์ ควบคู่การเชื่อมโยงเอกลักษณ์และทุนทางวัฒนธรรมในเชิงพื้นที่

นางดวงดาว กล่าวต่อว่า ตามที่ นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้กำหนดนโยบาย RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต ผ่านกลยุทธ์การปรับตัวให้ก้าวทันเศรษฐกิจยุคใหม่ (RESHAPE THE INDUSTRY) เน้นการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยเฉพาะในด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ การสร้างแบรนด์ และการสร้างเครือข่ายผ่านกิจกรรม “เปิดโลกวัสดุใหม่ด้วยนวัตกรรมและการออกแบบเชิงสร้างสรรค์” (The Unlock Materials Design 2024) ประจำปี 2567 เพื่อเปิดโลกทัศน์ ปรับกระบวนการความคิด สร้างแรงบันดาลใจ และจุดประกายแนวความคิดในการคัดเลือกวัสดุจากท้องถิ่น (Local Materials) ภายในประเทศไทยมาประยุกต์ใช้ในงานออกแบบโดยอาศัยนวัตกรรมและการออกแบบเชิงสร้างสรรค์อย่างเหมาะสม ต่อยอดให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงานในบริบทใหม่ หรือ From Local to Luxury ซึ่งเป็นการยกระดับศักยภาพของวัสดุท้องถิ่นด้วยนวัตกรรมและแนวความคิดการออกแบบสร้างสรรค์ผสานกับความรู้และเทคโนโลยีด้านวัสดุศาสตร์จนทำให้ได้วัสดุและผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นเฉพาะตัว ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนทั้งสิ้น 28 กิจการที่ได้รับการฝึกอบรมในหลักสูตร “การปลดล็อกความคิดใหม่ผสานทุนวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์” พร้อมศึกษาดูงานธุรกิจสร้างสรรค์ที่มีเอกลักษณ์ทางธุรกิจชัดเจน รวมถึงได้เข้าร่วมกิจกรรมค่ายบ่มเพาะไอเดียสร้างสรรค์ในพื้นที่ 5 ภูมิภาค ตลอดจนยังได้รับการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกในการจัดทำต้นแบบผลิตภัณฑ์ โดยแต่ละกิจการมีผลงานที่โดดเด่นแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นการประยุกต์วัสดุท้องถิ่นเข้ากับลายผ้าทอเพื่อให้เกิดลวดลาย และเทคนิคใหม่ ๆ การทำเครื่องประดับด้วยวัสดุท้องถิ่นให้ดูทันสมัย หรือการนำเสนอการใช้งานวัสดุใหม่อย่างเส้นลวดทองเหลืองชุบที่เป็นวัสดุเชื่อมในการทำเครื่องประดับเดิมมาเป็นวัสดุหลักผ่านการออกแบบสร้างสรรค์ การค้นหาของเสียจากกระบวนการผลิตในท้องถิ่นมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ อาทิ บีนแบคไม้หุ้มด้วยนวัตกรรมการเคลือบผิวผักตบชวาสาน แผ่นวัสดุตกแต่งผนังด้วยนวัตกรรมสร้างสมดุลธรรมชาติร่วมกับเส้นใยเห็ด และแผ่นจากวัสดุ cement เสริมแร่ธาตุสำหรับปลูกพืชแบบไร้ดิน ซึ่งล้วนเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการพัฒนาสูตรร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในแต่ละพื้นที่ 

ทั้งนี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ได้นำผลงานจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวข้างต้นมาจัดแสดงนิทรรศการ “เปิดโลกวัสดุใหม่ เปลี่ยนรูปวัสดุเดิม (Form Local to Luxury)” พร้อมเปิดพื้นที่ทดสอบตลาดไอเดียสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกว่า 30 บูธ ในช่วงระหว่างวันที่ 17 – 19 มิถุนายน 2567 ณ ลานโปรโมชั่น ชั้น G ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ เพื่อแสดงผลงานและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ได้รับพัฒนาต่อยอดแนวความคิดสร้างสรรค์วัสดุท้องถิ่น และเห็นถึงผลสำเร็จจากการบูรณาการร่วมกันระหว่างภาครัฐ และเอกชน อาทิ นักออกแบบ ผู้ประกอบการ ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญและวิสาหกิจชุมชนในท้องถิ่นที่ได้ร่วมกันผลักดันและขยายผลของทุนทางวัฒนธรรมเพื่อสร้างห่วงโซ่การผลิตผลิตภัณฑ์และบริการสร้างสรรค์ที่เชื่อมโยงภาคท้องถิ่นและภาคอุตสาหกรรมเข้าด้วยกัน โดยการจัดงานดังกล่าวได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมากมีผู้เข้าร่วมงานดังกล่าวไม่น้อยกว่า 5 หมื่นราย และคาดว่าจะเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 100 ล้านบาท นางดวงดาว กล่าวทิ้งท้าย

About pawarit

Check Also

Kuka Digital ผนึกกำลัง Noux Node ยกระดับโรงงานอัจฉริยะ ด้วย IT ยุคใหม่และ DevOps

Kuka Digital หน่วยงานใหม่ล่าสุดของกลุ่มบริษัทระบบอัตโนมัติ Kuka จากเมือง Augsburg ประเทศเยอรมนี ได้ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ Noux Node บริษัทซอฟต์แวร์จากฟินแลนด์ โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม ด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และแนวทางการปฏิบัติ …

Apple โชว์ผลงานรักษ์โลก ลดก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก 60% ใกล้เป้าหมาย Net Zero ปี 2030

Apple ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญในการดำเนินงานด้านความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม โดยสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ทั่วทั้ง Value Chain ได้มากกว่า 60% แล้ว เมื่อเทียบกับปี 2015 ซึ่งเป็นปีฐาน การประกาศนี้มาพร้อมกับการเผยแพร่รายงานความคืบหน้าด้านสิ่งแวดล้อมประจำปีของบริษัท