แบตเตอรี่นิวเคลียร์ผลิตพลังงานให้กับโทรศัพท์มือถือและโดรนได้นาน 50 ปีโดยไม่ต้องชาร์จ

Betavolt บริษัทที่มีสำนักงานใหญ่ในปักกิ่ง กล่าวว่า แบตเตอรีนิวเคลียร์ของบริษัทเป็นแบตเตอรี่ตัวแรกในโลกที่สามารถย่อขนาดของพลังงานปรมาณู โดยวาง nickel-63 isotopes ไว้ในโมดูลที่เล็กกว่าเหรียญ ได้เข้าสู่ขั้นตอนการทดสอบนำร่องแล้ว และจะมีการผลิตเป็นจำนวนมากเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ เช่น โทรศัพท์และโดรนในที่สุด และนวัตกรรมพลังงานใหม่นี้จะช่วยให้จีนได้เปรียบในการปฏิวัติเทคโนโลยี AI รอบใหม่

แบตเตอรี่พลังงานปรมาณูของ Betavolt สามารถตอบสนองความต้องการของแหล่งจ่ายไฟที่มีอายุการใช้งานยาวนานได้ในหลายสถานการณ์ เช่น การบินและอวกาศ อุปกรณ์ AI อุปกรณ์ทางการแพทย์ ไมโครโปรเซสเซอร์ เซ็นเซอร์ขั้นสูง โดรนขนาดเล็ก และไมโครหุ่นยนต์

แบตเตอรี่ทำงานโดยการแปลงพลังงานที่ปล่อยออกมาจากการสลายไอโซโทปให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยผ่านกระบวนการที่มีการสำรวจครั้งแรกในศตวรรษที่ 20 บริษัท Betavolt กล่าวว่า

  • แบตเตอรี่นิวเคลียร์ตัวแรกของบริษัทสามารถส่งพลังงานได้ 100 ไมโครวัตต์ และแรงดันไฟฟ้า 3V ในขณะที่วัดขนาดได้ 15x15x5 ลูกบาศก์มิลลิเมตร อย่างไรก็ตาม บริษัทมีแผนที่จะผลิตแบตเตอรี่ที่มีกำลังไฟ 1 วัตต์ภายในปี 2568
  • ขนาดที่เล็กหมายความว่าสามารถนำไปใช้เป็นอนุกรมเพื่อผลิตพลังงานได้มากขึ้น โดยบริษัทจินตนาการถึงโทรศัพท์มือถือที่ไม่จำเป็นต้องชาร์จ และโดรนที่สามารถบินได้ตลอดไป
  • การออกแบบหลายชั้นยังหมายความว่ามันจะไม่ติดไฟหรือระเบิดเพื่อตอบสนองต่อแรงกะทันหัน ตามที่ Betavolt กล่าวอ้าง ขณะเดียวกันก็สามารถทำงานได้ในอุณหภูมิตั้งแต่ -60C ถึง 120C
  • หลังจากช่วงการสลายตัว nickel-63 isotopes จะกลายเป็นไอโซโทปทองแดง ซึ่งไม่มีกัมมันตภาพรังสี และแบตเตอรี่พลังงานปรมาณูเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

“แบตเตอรี่พลังงานปรมาณูที่พัฒนาโดย Betavolt มีความปลอดภัยอย่างแน่นอน ไม่มีรังสีจากภายนอก และเหมาะสำหรับใช้ในอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เครื่องกระตุ้นหัวใจ หัวใจเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ในร่างกายมนุษย์” บริษัทกล่าว

ที่มา : https://www.independent.co.uk/tech/nuclear-battery-betavolt-atomic-china-b2476979.html

About pawarit

Check Also

“Frequency Converter” คืออะไร

ตัวแปลงความถี่ (Frequency Converter) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้สำหรับแปลงความถี่ของกระแสไฟฟ้าจากความถี่หนึ่งไปยังอีกความถี่หนึ่ง

จีน ครองห่วงโซ่อุปทานแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเกือบทั้งหมด ยุโรปเสี่ยงพึ่งพามากเกินไป

การผลิตแบตเตอรี่ต้องอาศัยห่วงโซ่อุปทานที่ซับซ้อนและเชื่อมโยงกันทั่วโลก การศึกษาล่าสุดชี้ให้เห็นว่าจีนครองห่วงโซ่มูลค่าของแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเกือบทั้งหมด