แหล่งข่าวอ้างว่า Volvo ผู้ผลิตยานยนต์ค่ายดังยุโรป ยกเลิกเป้าหมายการขายเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้า 100% (BEV) ภายในปี 2030 โดยอ้างถึงความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกที่ชะลอตัวลงจากความกังวลเกี่ยวกับต้นทุนและโครงสร้างพื้นฐานด้านการชาร์จ โดยสรุป 3 เหตุผลหลักที่ Volvo ไปต่อ BEV ไม่ได้ คือ ปัญหาต้นทุน ปัญหาการยกเลิกเงินอุดหนุนจากภาครัฐฯ และปัญหาภาษีนำเข้าของยุโรปสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตในจีน แน่นอนว่าปัญหาอย่างหลัง Volvo กระทบเต็ม ๆ เพราะรถยนต์ไฟฟ้าหลายรุ่นของ Volvo ผลิตขึ้นที่แผ่นดินจีน

ปัจจัยหลักน่าจะมาจากความกังวลเกี่ยวกับต้นทุนและโครงสร้างพื้นฐานของรถยนต์ไฟฟ้าที่ทำให้ความต้องการชะลอตัวลง โดยเฉพาะในยุโรป เนื่องจากประเทศต่าง ๆ เช่น เยอรมนีและสวีเดนได้ยกเลิกการอุดหนุนที่เคยช่วยกระตุ้นยอดขายในช่วงแรก สรุป 3 เหตุผลหลักที่ Volvo ไปต่อ EV แบบ 100% ไม่ได้ คือ
- ปัญหาด้านต้นทุนผลิต ส่งผลต่อราคาขายที่สูงตาม
- เยอรมนี และสวีเดน ยกเลิกอุดหนุนแผน EV
- ต้องเผชิญกับภาษีนำเข้าของยุโรปสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตในจีน แน่นอนว่า Volvo กระทบเต็ม ๆ เพราะรถยนต์ไฟฟ้าหลายรุ่นของ Volvo ผลิตขึ้นที่แผ่นดินจีน
อุตสาหกรรมรถยนต์ในวงกว้างยังต้องเผชิญกับภาษีนำเข้าของยุโรปสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตในจีน ซึ่งส่งผลกระทบต่อ Volvo เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าหลายรุ่นของ Volvo ผลิตขึ้นที่นั่น ภาษีนำเข้า ปัญหาห่วงโซ่อุปทาน และความต้องการที่ลดลงทำให้ผู้ผลิตรถยนต์ต้องทบทวนเป้าหมายการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดของตนอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม ลูกค้ารถยนต์ไฮบริดแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) ของ Volvo จำนวนมากเดินทางด้วยรถยนต์ที่ปล่อยไอเสียเป็นศูนย์อยู่แล้ว ข้อมูลล่าสุดของ Volvo Cars แสดงให้เห็นว่ารถยนต์ PHEV รุ่นล่าสุดของ Volvo ขับไปได้ประมาณครึ่งหนึ่งของระยะทางทั้งหมดโดยใช้พลังงานไฟฟ้าล้วน บริษัทจะอัปเกรดรถยนต์ PHEV ต่อไป เพื่อเพิ่มการใช้ไฟฟ้าและระยะทางวิ่ง และปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า
ที่มา : Volvo และ capitalbrief