May Mobility เปิดให้บริการรถยนต์อัตโนมัติที่ใช้แพลตฟอร์ม e-Palette ที่โรงงาน Miyata ของโตโยต้าประเทศญี่ปุ่น

May Mobility ผู้พัฒนาเทคโนโลยีการขับแบบอัตโนมัติ ประกาศเปิดให้บริการรถยนต์อัตโนมัติ (AV) ที่โรงงาน Miyata ของ Toyota Motor Kyushu Co. (TMK) ในเมืองฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อเป็นทางเลือกในการเดินทางที่มีประสิทธิภาพสำหรับพนักงานในโรงงานและแขกผู้มาเยือน โดยรถยนต์อัตโนมัตินี้ใช้ e-Palette ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มยานยนต์แบบ mobility-as-a-service (MaaS) ของโตโยต้า

รถยนต์อัตโนมัติไร้คนขับของ May Mobility ซึ่งใช้แพลตฟอร์ม e-Palette ของโตโยต้า กำลังให้บริการเดินทางตามถนนส่วนบุคคลในพื้นที่โรงงาน Miyata ของ Toyota Motor Kyushu ในญี่ปุ่น

ก่อนหน้านี้เมื่อปี พ.ศ. 2565 May Mobility ได้รับสิทธิ์การใช้แพลตฟอร์ม e-Palette รุ่นถัดไปของโตโยต้า เพื่อนำมาติดตั้งกับเทคโนโลยีต่างๆ ของ May Mobility ซึ่งมีทั้งชุดขับอัตโนมัติ และเทคโนโลยีการตัดสินใจแบบหลายแนวทาง (MPDM) เพื่อพิสูจน์ความสามารถของเทคโนโลยีนี้ May Mobility จึงดำเนินการทดสอบและประเมินผลอย่างเข้มข้นในญี่ปุ่น ทำให้เห็นถึงข้อกำหนดที่สำคัญทั้งด้านสมรรถนะและพฤติกรรมของรถยนต์

e-Palette ที่เป็นแพลตฟอร์มยานยนต์แบบ MaaS ของโตโยต้า ใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ มาพร้อมกับชุดควบคุมการขับขี่อัตโนมัติ (ของบริษัทผู้ผลิตที่สาม) รวมถึงพื้นที่สำหรับการจัดวางเซนเซอร์และระบบคอมพิวเตอร์

เทคโนโลยี MPDM (Multi-Policy Decision Making) ของ May Mobility ที่ได้รับการจดสิทธิบัตรแล้วนั้น จะใช้ข้อมูลที่รวบรวมมาจากเซนเซอร์ต่างๆ ที่อยู่โดยรอบรถยนต์เพื่อเสริมเพิ่มการเรียนรู้ในเวลาจริง สามารถประเมินเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้หลายพันสถานการณ์ต่อวินาที แม้ว่าสถานการณ์เหล่านั้นจะไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนก็ตาม ส่งผลให้เทคโนโลยีของ May Mobility ที่อยู่บนแฟลตฟอร์ม e-Palette สามารถใช้ประโยชน์จากปัญญาประดิษฐ์เพื่อเพิ่มความสามารถในการขับอย่างต่อเนื่องบนเส้นทางการใช้งานของ TMK

รถยนต์อัตโนมัติที่โรงงาน Miyata ของโตโยต้านี้เป็นบริการแรกสำหรับการขนส่งด้วย e-Palette ซึ่งเป็นบริการทางเลือกสำหรับพนักงานและผู้มาเยือนในช่วงเวลาทำการปกติ ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ เส้นทางที่ให้บริการประกอบด้วยจุดจอดรถ 6 จุด วิ่งผ่านพื้นที่เป็นวงรอบตามที่กำหนด เริ่มจากหัวมุมด้านตะวันออกเฉียงใต้ และวิ่งต่อเนื่องขึ้นไปและวนรอบจนสุดทางด้านเหนือของโรงงานก่อนจะกลับไปยังจุดเริ่มต้น

นอกจากนี้ การให้บริการเดินรถยังเป็นไปตามข้อบังคับด้านความปลอดภัยในท้องถิ่น โดยรถยนต์บนแพลตฟอร์ม e-Palette นี้จะมีผู้ปฏิบัติการรถยนต์อัตโนมัติ เพื่อควบคุมการขับแบบอัตโนมัติของรถยนต์

บริการที่โรงงาน Miyata เป็นหนึ่งในหลายปฏิบัติการในญี่ปุ่นตามแผนปี พ.ศ. 2567 นอกจากนี้ MONET Technologies ผู้ดำเนินธุรกิจด้านการเดินทางตามความต้องการ ยังมีส่วนร่วมในโครงการนี้ด้วย และจะร่วมมือกันให้บริการอื่นๆ เพิ่มเติมอีก และ May Mobility ซึ่งพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการเดินทางที่ให้บริการมาแล้วมากกว่า 400,000 เที่ยวทั้งในสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ยังทำงานร่วมกับผู้ลงทุนอย่าง NTT เพื่อเปิดให้บริการอื่นๆ อีกในญี่ปุ่นในอนาคต

ที่มา: May Mobility

About pawarit

Check Also

ยักษ์จีนจับมือเบอร์สองเกาหลีใต้! Chery ผนึกกำลัง KGM พัฒนา SUV รุ่นใหม่เขย่าตลาดยานยนต์โลก

วงการยานยนต์โลกต้องจับตา เมื่อผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่จากจีนอย่าง Chery (เชอรี่) ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ KGM (เคจีเอ็ม) ค่ายรถยนต์อันดับสองของเกาหลีใต้ โดยทั้งสองฝ่ายได้ลงนามข้อตกลงร่วมกันเพื่อพัฒนารถยนต์ SUV ขนาดกลางถึงใหญ่รุ่นใหม่ล่าสุด ตามข้อมูลที่ Chery เปิดเผยผ่านบัญชี WeChat …

แมกน่า ซัพพลายเออร์ยานยนต์รายใหญ่ของโลกยึดมั่นความยั่งยืนพร้อมดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อประเทศไทย

กลุ่มบริษัทแมกน่า อินเตอร์เนชั่นแนล อิงค์ (Magna International Inc.) ในฐานะซัพพลายเออร์ยานยนต์รายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของโลก มุ่งมั่นที่จะผลิตสินค้าอย่างยั่งยืนและดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ ด้วยการดำเนินงานใน 28 ประเทศที่มีความเชี่ยวชาญครอบคลุมทั้งยานยนต์  แมกน่ายังคงขับเคลื่อนการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการดูแลสิ่งแวดล้อมในระดับโลกรวมถึงในประเทศไทย